Archive

Archive for the ‘UAV’ Category

Which type of drone will suit your application ?? (end) 

VTOL คือที่สุดของ 2 โลก (https://coptrz.com/blog/fixed-wing-vs-multirotor-drones-for-surveying/)

เราได้เห็น ความเปลี่ยนแปลง ของความต้องการและการขยายขอบเขตของการการใช้งานอากาศยาน ไร้คนขับในงาน Survey/Mapping  และเห็นได้ค่อนข้างชัดว่าผู้ใช้งาน ยังคงเลือกใช้อากาศยานประเภท มัลติโรเตอร์ผู้ ตามข้อดีที่กล่าวไปแล้ว  แต่ถึงอย่างไรก็ตามอากาศยานแบบ Fixed-wing ก็ยังมีข้อได้เปรียบที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งต่อการ เติบโตของงาน และต้นทุนที่แข่งขัน จะดีไปกว่านั้นถ้าเราได้อากาศยาน ที่มีความสามารถในการบินเหมือน Fixed-wing บวกกับความต้องการ ในขนาดพื้นที่ขึ้นลง น้อย มากใกล้เคียงกับอากาศยานแบบ Multi rotor และ บินง่ายขึ้น ไม่ต้องใช้ ทักษะมากนัก ใช้เวลาในการเรียนรู้น้อย  ก็จะทำให้อากาศยานนั้น มีความต้องการใช้ไม่น้อย

ย้อนกลับไป 5-6 ปี อากาศยานไร้คนขับแบบ VTOL หรือ Vertical take-off and landing แบบลูกผสม Fxied-wing หรือเราเรียกกันสั้น ๆ ว่า VTOL  ค่อย ๆ ปรากฏ ขึ้นมาในช่องว่างที่เรามองหากัน  อากาศยานรูปแบบนี้ก็ เริ่มนำเข้ามาใช้งานมากขึ้น จนปรากฏให้เห็นเป็นความนิยมมากขึ้น  เพราะคุณสมบัติของ อากาศยานชนิดนี้ เป็นการนำเอา ข้อดีของ อากาศยานแบบ multi rotor บวกกับ อากาศยาน ชนิด Fixed-wing เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ ให้กับผู้ใช้งานหลากหลาย โดยเฉพาะงาน ด้าน Survey/Mapping ขนาดใหญ่ หรือในระยะไกล เช่นการสำรวจดามแนว ทางรถไฟ ตามแนวสายส่ง ตามแนวคลองส่งน้ำ เป็นต้น  การฝึกฝนนักบิน ใช้เวลาน้อยกว่าฝึกการใช้งานแบบ Fixed-wing  อีกด้วย

ปัจจุบัน เริ่มมีการใช้งานอากาศยานไร้คนขับชนิดนี้กันอย่างกว้างขวาง ขึ้น ทั้งในด้าน Application ในด้านการวิจัยและพัฒนา โรงเรียนและการฝึกสอน ไปจนถึงในด้านสงครามใกล้บ้านไกลบ้าน มีให้เห็นกัน เกลื่อนตา (ในโลกปัจจุบันที่ไม่สามารถปิดกันข้อมูลข่าวสารได้ )    ถ้าไม่จับจ้องเรื่องความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจ ก็ยังคงพอมองเห็นความคึกคักอยู่บ้าง  ใครปล่อยผ่านก็อาจจะเสียโอกาสในการแข็งขัน  ช่วงนี้ก็ถือว่าเป็นช่วงที่ต้องชิงโอกาส แอบซุ่มทำงานกัน เมื่อเศรษกิจติดเครื่อง จะได้วิ่งไปโลดพร้อมๆ กัน ครับ ก็ขอจบ ไว้เท่านี้ ครับ

Categories: Drone, UAV, VTOL

Which type of drone will suit your application ?? (2) 

มองย้อนกลับไปประมาณ 15-20  ปีที่แล้ว ระบบอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน ยังไม่มีอากาศยานแบบ Multi rotor เราใช้อากาศยานแบบ Fixed-wing เป็นที่นิยม และใช้กันมาถึงยุคปัจจุบัน มีทั้งแบบ พุ่งขึ้น วิ่งขึ้น และการยิ่งขึ้น มีความสามารถในการบินระยะไกล (long-range)  บินนาน (long-endurance) และบินได้สูง (high-altitude)  ใช้งานได้หลากหลาย เช่น การบินทำแผนที่สำรวจ (mapping / suvery) การบินเพื่อการ ต่อระยะสัญญาณ (signal relay) หรือการติดตั้ง sensor ชนิดต่าง ๆ เพื่อตรวจวัดสภาพอากาศ 

สามารถเปรียบเทียบข้อดีขอเสียกับอากาศยานแบบ multi rotor ได้ดังนี้

อากาศยานแบบ Multi rotor

ข้อดี-ฝึกง่าย บินง่าย
-สามารถบรรทุกหนักได้ดี (payload capacity)
-ใช้ที่ขึ้นลงน้อย 
– มีความสามารถในการบิน ลอยนิ่งได้ (hover)
ข้อเสีย– บินได้ไม่ไกล(short-range)  เพราะเวลาในการบิน (Flight-time) ต่ำ
– ต้นทุนในการบำรุงรักษา (Maintenace) สูงกว่า
ข้อดีข้อเสียของอากาศยานแบบมัลติโรเตอร์

อากาศยานแบบ Fixed-wing

ข้อดี– บินปฏิบัติการได้ไกล (long-range) เพราะบินได้นานกว่า(long-endurance)
– มีเสถียรภาพสูง (Greater stability) สามารถทนต่อลมได้สูง
– สามารถร่อนกลับได้ เมื่อแบตเตอรี่หมด (Recover from power loss)
– ต้นทุนการบำรุงรักษาต่ำกว่า
ข้อเสีย– การขึ้นและลงต้องการ พื้นที่มาก หรือ runway
– นักบินต้องมีการฝึกฝนมากกว่า
– ต้องการพื้นที่ ในการเก็บและเคลื่อนย้าย (ใหญ่กว่า Multi rotor)
ข้อดีข้อเสียของอากาศยานแบบ Fixed-wing

ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา มีความนิยม เอาอากาศยาน แบบ multi rotor มาบินในงาน Survey/Mapping มากขึ้น เนื่องจากผู้ใช้ ใช้งานง่าย ขนย้านสะดวกกว่า Fixed-wing  แต่ในปัจจุบันเมื่อ Application ด้าน survey/mapping มีความต้องการมากขึ้นขนาดพื้นที่ที่ต้องการทำใหญ่ขึ้น ทำให้ข้อได้เปรียบ ของ multi rotor ลดลงไป  และมองหาสิ่งที่จะมาทดแทน 

Categories: Drone, UAV, VTOL

Which type of drone will suit your application?? (1)

ในปัจจุบัน การใช้งานอากาศยานไร้คนขับ หรือเราเรียกกันว่าโดรน ในงานด้านการสำรวจทำแผนที่ด้วยภาพถ่ายทางอากาศมากขึ้นเป็นลำดับ อากาศยานที่นักบินโดรน นิยมใช้งานกันส่วนมากคือ มัลติโรเตอร์ 4 ใบพัด ตั้งแต่ขนาดเล็ก น้ำหนักไม่กี่กรัม ไปจนถึง น้ำหนักหลายกิโลกรัม (70%ของตลาด)

แต่งานด้านการสำรวจ ทำแผนที่ เริ่มมีการนำข้อมูลไปใช้กันมากขึ้น มีเนื้อที่ ที่ต้องบินครอบครุมมากขึ้น และการเข้าถึงยิ่งลำบากมากขึ้น การบินของอากาศยานแบบมัลติโรเตอร์ เริ่มประสบกับข้อจำกัด ซึ่งเป็นคุณสมบัติประจำตัวของอากาศยานประเภทนี้  คือ บินในอากาศได้ ไม่นานนัก(flight time<40 นาที) ไม่ไกลนัก (range <5km) ไม่สูงนัก(flight attitude <600m) ทำให้การบินในงานสำรวจเริ่มมีอุปสรรค ต้องใช้ทีมบินเยอะขึ้น และต้นทุนที่สูงขึ้น(รวมถึงต้นทุนในการ Maintenace ด้วย)  ในขณะเดียวกันก็มีการแข็งขันด้านราคา ที่มากขึ้นตามลำดับ ผู้คนเริ่มมองหาทางเลือกใหม่ที่ทำให้สามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ (โดรนแบบมัลติโรเตอร์ ไม่เหมาะกับงานบินสำรวจขนาดใหญ่)

Categories: Drone, UAV, VTOL