Home > Arduino, educational programming > การจัดการ Memory ของ Arduino [Arduino Memories]

การจัดการ Memory ของ Arduino [Arduino Memories]

Image

Arduino มี Memory อยู่ 3 ชนิดคือ

  • Flash หรือ Program Memory
  • SRAM
  • EEPROM

Flash Memory

   ใช้สำหรับการบันทึก Program Image และข้อมูลตั้งต้นต่าง  เราสามารถ run โปรแกรมจาก flash memory ได้แต่เราไม่สามารถแก้ไขข้อมูลใน flash memory จาก code ที่ทำงานอยู่ได้  หากต้องการแก้ไขข้อมูลเราจะต้องทำการสำเนาไปที่ SRAM 

Flash memory นั้นใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับ thumb-drive และ SD cards ซึ่งเป็นแบบ non-volatile หมายถึง program หรือข้อมูลจะคงอยู่แม้ว่าจะไม่มีไฟหล่อเลี้ยงอยู่ก็ตามหรือมีลักษณะเหมือน hard disk  แต่มันก็มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนครั้งในการเขียนกล่าวคือเราจะเขียนหรือบันทึกข้อมูลลง flash memory ได้ประมาณ 100000 ครั้ง (100000 write cycle)   มากพอที่จะใช้งานสัก 10 – 20 ปีแหละครับ ( สมมติว่าเราเขียนลงบน flash memory 10 ครั้งต่อวันเราก็จะใช้เวลาประมาณ 27 ปีครับ

SRAM

     หรือ Static Random Access Memory นั้นสามารถอ่านหรือเขียนได้จากโปรแกรม code ที่ทำงานอยู่ SRAM นั้นถูกใช้ในหลายจุดประสงค์คือ

  • Static Data เป็นส่วนของ memory ที่กันไว้สำหรับ  global variable และ static variable ของโปรแกรมสำหรับตัวแปรที่ถูกกำหนดค่าเริ่มต้นเมื่อเริ่ม start ระบบจะทำการสำเนาค่าเริ่มต้นนั้นจาก flash memory มาใส่ให้
  • Heap เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลแบบ dynamic หรือข้อมูลที่มีการ allocate ระหว่างที่โปรแกรมทำงาน  ส่วนของ Heap นั้นจะขยายจากส่วนบนของ static data ขึ้นไปโดยใช้ส่วนของ memory ที่ว่างไปเรื่อยในระหว่างที่มีการจองและใช้งานของโปรแกรมที่ทำงานอยู่
  • Stack เป็นส่วนของ memory ที่ใช้เก็บข้อมูลตัวแปรแบบ local และเก็บรายการ interrupts และ function call ต่างๆ memory ในส่วนของ stack จะขยายจากด้านบนสุดของ memory ลงมาหา Heap ดังนั้นทุก  ตัวแปร  รายการ interrupts และ function call นั้นจะทำให้ memory ส่วน stack ขยายลงมากเรื่อย  การ return จาก interrupt หรือจาก function call นั้นจะคืนพื้นที่ว่างให้กับ SRAM 

       ปัญหาส่วนใหญ่ของ Memory เกิดจากการขยายขนนาดของ stack และ heap จนมาชนกันเมื่อเกิดการชนกันของ stack และ heap พื้นที่ข้อมูลของส่วนที่ถูกบันทึกทับก็จะเสียหายส่งผลให้เกิดการทำงานผิดพลาดแบบไม่สามารถคาดเดาผลการทำงานได้หรือในบางครั้งก็อาจทำให้เกิดการล่มของโปรแกรมไปเลย  หรือในบางครั้งผลของการชนกันอาจไม่สังเกตเห็นได้จนกระทั่งเกิด error ขึ้นภายหลังจากนำเอาโปรแกรมไปใช้งานแล้วก็ได้

EEPROM

เป็น non-volatile memory อีกอันหนึ่งซึ่งสามารถอ่านและเขียนโดยโปรแกรม code ที่ทำงานอยู่แต่ข้อจำกัดของมันคือต้องอ่านทีละ byte ทำให้เวลาใช้งานยุงยากหน่อยและการอ่านก็ช้ากว่า SRAM นอกจากนี้ก็ยังมีข้อจำกัดในการเขียนที่ 100000 write cycle ( แต่การอ่านไม่จำกัด )

Image

Arduino Memory Comparison

ตารางด้านล่างแสดงถึงข้อเปรียบเทียบของจำนวน memory แต่ละชนิดของแต่ละ model ของ Arduino และ Arduino compatible board 

Image

     ครับ เรารู้รูปแบบของ Memory ต่าง ๆ กันคร่าวแล้ว ทำไงเราจะตรวจสอบว่า โปรแกรมที่เราเขียนนั้นใช้ Memory ไปเท่าไร หมายถึงอะไรเท่าไรนะครับ มีคำอธิบายต่อไปเรื่องการตรวจสอบ ใน ตอนต่อไปครับ  เรื่อง  การตรวจสอบการใช้ Memory ( Measuring Memory Usage )

ขอให้สนุกกับการ เรียนรู้นะครับ

ธีระพงษ์ สนธยามาลย์

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: